สายตาพร่าคืออะไร สาเหตุและการรักษา
สายตาพร่าคือการสูญเสียความคมชัดของสายตา ทำให้วัตถุหลุดจากจุดโฟกัสและพร่ามัว
สาเหตุหลักของอาการตามัวคือ ความผิดปกติของค่าสายตา ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง รวมถึง สายตายาวตามวัย. แต่การมองเห็นไม่ชัดอาจเป็นอาการของปัญหาที่ร้ายแรงกว่าได้ เช่น โรคตาที่อาจเป็นอันตรายต่อสายตาหรือความผิดปกติทางระบบประสาท
ตามัวอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาทั้งสองข้าง แต่บางคนอาจตามัวในตาเพียงข้างเดียว
การมองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งวัตถุถูกบดบังและปรากฏเป็น"สีขุ่น ๆ" คล้ายกับอาการสายตาพร่า การมองเห็นภาพไม่ชัดมักเป็นอาการของสภาวะบางอย่าง เช่น ต้อกระจก.
สายตาพร่าและการมองเห็นภาพไม่ชัดอาจเป็นอาการของปัญหาสายตาที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
หากต้องการตรวจสอบว่าคุณสายตาพร่าหรือไม่ และสาเหตุเกิดจากอะไรควรไปพบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตา เพื่อการตรวจตาอย่างละเอียด
ต้องการตรวจตาใช่หรือไม่ ค้นหาผู้เชี่ยวชาญ ด้านการดูแลดวงตาใกล้คุณ และนัดตรวจ
สายตาพร่า: สาเหตุและการรักษา
ภาวะสายตาสั้น: อาการของ ภาวะสายตาสั้น (สายตาสั้น) รวมถึง ตาเหล่ อาการเมื่อยล้าทางสายตา ปวดศีรษะ และ สายตาพร่าในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง. ภาวะสายตาสั้นเป็นความผิดปกติทางค่าสายตาที่พบบ่อยที่สุด และทำให้มองวัตถุที่อยู่ในระยะไกลไม่ชัด
แว่นสายตา คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ เลสิก และ PRK เป็นวิธีในการแก้ไขภาวะสายตาสั้นที่พบบ่อยที่สุด
ภาวะสายตายาว: หากท่านมี ภาวะสายตายาว (สายตายาว) วัตถุที่อยู่ห่างไกลอาจยังคงชัดเจน แต่ดวงตาของคุณไม่สามารถปรับความคมชัดของวัตถุระยะใกล้ได้อย่างถูกต้อง หรือหากทำได้ก็จะก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าทางสายตาและกล้ามเนื้อรอบดวงตาล้าผิดปกติ ในกรณีที่มีสายตายาวอย่างรุนแรง แม้แต่วัตถุที่อยู่ไกลก็อาจเห็นไม่ชัดเจนได้
เช่นเดียวกับสายตาสั้น สายตายาวสามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา
ภาวะสายตาเอียง: ตามัวในทุกระยะมักเป็นอาการของ ภาวะสายตาเอียง. ความผิดปกติของค่าสายตาประเภทหนึ่ง อาการสายตาเอียงมักเกิดจากกระจกตาที่มีรูปร่างผิดปกติ
เนื่องจากสายตาเอียง รังสีของแสงจึงไม่สามารถตกกระทบที่จุดโฟกัสเดียวบนจอตาเพื่อสร้างการมองเห็นที่ชัดเจนได้ ไม่ว่าวัตถุที่มองจะอยู่ห่างจากดวงตาของคุณมากเพียงใดก็ตาม
สายตาเอียง เช่น สายตาสั้นและสายตายาวสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
ภาวะสายตายาวตามวัย: หากคุณอายุเกิน 40 ปีและเริ่มสังเกตว่าตนมีสายตาพร่ามัวในระยะใกล้เมื่ออ่านตัวหนังสือในเมนูร้านอาหาร ฉลากอาหาร หรือตัวหนังสือขนาดเล็กอื่น ๆ ภาวะเช่นนี้เกิดจากการเริ่มมีอาการของ ภาวะสายตายาวตามวัยซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับสายตาที่เกิดขึ้นตามวัยเป็นปกติ
ถึงแม้อาการของสายตายาวตามวัยจะเหมือนกับที่อาการซึ่งมีสาเหตุจากสายตายาว (มองใกล้ไม่ชัด อาการเมื่อยล้าทางสายตาเมื่ออ่านหนังสือ) แต่ภาวะสายตายาวตามวัยเป็นการสูญเสียความสามารถในการปรับความชัดของวัตถุที่อยู่ใกล้อันเนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเลนส์ภายในดวงตาแข็งตัวขึ้น
การรักษาทั่วไปสำหรับภาวะสายตายาวตามวัย ได้แก่ เลนส์โปรเกรสซีฟ, คอนแทคเลนส์แบบมัลติโฟคอลไบโฟคอลส์ และ แว่นตาอ่านหนังสือ. นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกการผ่าตัดสายตายาวตามวัย - รวมถึงการผ่าตัดฝังวัสดุลงในกระจกตา PresbyLASIK และการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ (Conductive Keratoplasty)
สำหรับแว่นตาทุกประเภทเพื่อแก้ไขความผิดปกติของค่าสายตาและสายตายาวตามวัย คุณสามารถเพิ่มความชัดเจนและความสบายได้ด้วย สารเคลือบกันแสงสะท้อน และ เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติ. สอบถามรายละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณ
ตาแห้งเรื้อรัง: กลุ่มอาการตาแห้ง สามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาของคุณได้หลายประการ รวมถึงสายตาพร่า ในขณะที่น้ำตาเทียม (ยาหยอดตาเพื่อการหล่อลื่น) สามารถช่วยได้ แต่กรณีที่มีอาการตาแห้งขั้นรุนแรงอาจต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ หรือการฝัง punctal plugs เพื่อให้ดวงตาของคุณรู้สึกสบาย สุขภาพดี และมองเห็นได้ดีขึ้น
การตั้งครรภ์: การมองเห็นไม่ชัดเป็นเรื่องปกติในระหว่างตั้งครรภ์และบางครั้งก็เกิดร่วมกับ การเห็นภาพซ้อน (diplopia) การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างและความหนาของกระจกตาทำให้การมองเห็นของคุณพร่ามัว ตาแห้งยังพบได้บ่อยในสตรีมีครรภ์ และอาจทำให้ตามัว
คุณควรรายงานความผิดปกติของการมองเห็นระหว่างตั้งครรภ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณเสมอ แม้ว่าภาวะสายตาพร่าอาจจะไม่ร้ายแรงเสมอไป ในบางกรณีอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าถึงเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือความดันโลหิตสูง
ไมเกรนที่ตาหรือปวดศีรษะไมเกรน: แม้ว่าโดยทั่ว ๆ ไปแล้วอาการตามัว การเห็นแสงวูบวาบ ๆ เห็นแสงรูปทรงรัศมีวงกลมและซิกแซกมักจะไม่เป็นอันตรายและเกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งที่กล่าวมาเป็นอาการระยะเริ่มต้นที่พบบ่อยของ ไมเกรนที่ตา หรือปวดศีรษะไมเกรน
วุ้นในตาเสื่อม: สายตาอาจพร่าเลือนมองเห็นจุดหรือ เงาดำ ลอยไปมาในลานสายตาของคุณ โดยทั่วไปแล้วการมองเห็นเงาดำลอยไปมาจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำวุ้นตาที่มีลักษณะคล้ายเจลเริ่มเหลวตามอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เนื้อเยื่อขนาดเล็กภายในน้ำวุ้นตาลอยได้อย่างอิสระภายในดวงตาจึงทำให้เกิดเงาบนจอตา
หากจู่ ๆ คุณเกิดเห็นจุดดำเป็นสายลอยไปมา นั่นอาจเป็นสัญญาณของการฉีกขาดหรือ จอตาหลุดลอก และคุณควรพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาทันที
สายตาพร่าหลังเลสิก: การมองเห็นของคุณอาจพร่ามัวหรือมัวทันทีหลังทำเลสิก หรือการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติประเภทอื่น ๆ โดยทั่วไปความชัดเจนของสายตาของคุณจะดีขึ้นภายในสองสามวัน แต่อาจต้องใช้เวลามากกว่านี้เพื่อให้การมองเห็นของคุณคงที่อย่างสมบูรณ์
ยาหยอดตาและยารับประทาน: ยาหยอดตาบางชนิด โดยเฉพาะยาหยอดตาที่มีสารกันบูดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองและสายตาพร่า
นอกจากนี้ยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดแก้แพ้อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการตาแห้งและตามัว ในระหว่างการตรวจตาอย่างละเอียด ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณอาจให้คำแนะนำได้ว่ายาตัวใดบ้างของคุณที่อาจทำให้สายตาพร่าได้
การใส่คอนแทคเลนส์ที่นานเกินไป: การใส่ คอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง (หรือคอนแทคเลนส์ชนิดใดก็ได้) นานเกินกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณกำหนดไว้ จะทำให้โปรตีนและเศษอื่น ๆ ในฟิล์มน้ำตาก่อตัวสะสมบนเลนส์ สิ่งนี้อาจทำให้สายตาพร่าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตา
สายตาพร่าอาจเป็นอาการของปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่ร้ายแรง
หากคุณมีสายตาพร่าข้างเดียวเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและอายุเกิน 60 ปี อาจเป็นไปได้ว่าคุณเป็นโรคจุดรับภาพจอประสาทตาเป็นรูในส่วนกลางของจอตา
สายตาพร่าอย่างกะทันหันอาจเป็นอาการของจอตาหลุดลอก โรคเริมในดวงตา หรือโรคประสาทตาอักเสบ (การอักเสบของเส้นประสาทตา)
ภาวะของดวงตาและโรคบางโรค อย่างเช่นที่ระบุไว้ด้านล่างอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ดังนั้นจึงควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับรักษาหากคุณมีอาการสายตาพร่ากระทันหัน
ต้อกระจก การเปลี่ยนแปลงทางการมองเห็น อย่างเช่น ตามัวหรือการมองเห็นภาพไม่ชัด และเห็นแสงจ้าและรัศมีรอบดวงไฟในเวลากลางคืนอาจเป็นอาการของ ต้อกระจก. หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาต้อกระจกอาจทำให้อาการแย่ลงและขัดขวางการมองเห็นจนถึงขั้นตาบอดได้ในที่สุด แต่ด้วยการเปลี่ยนต้อกระจกโดยใช้เลนส์เทียม ผ่าตัดต้อกระจก ได้ผลดีมากในการทำให้การมองเห็นกลับมาดีอีกครั้ง
ต้อหิน: สายตาพร่าหรือ"สายตาเห็นได้แคบกว่าปกติ"อาจเป็นอาการของ ต้อหินหากไม่ได้รับการรักษาการสูญเสียการมองเห็นจะดำเนินต่อไปและอาจทำให้ตาบอดถาวรได้
โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ: สายตาพร่าและการเห็นภาพบิดเบือนที่ทำให้เส้นตรงเป็นคลื่นหรือภาพแตกอาจเป็นอาการของ โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (ARMD) สาเหตุสำคัญของการตาบอดในผู้สูงอายุ
โรคจอตาเสื่อมจากเบาหวาน: หากคุณเป็นโรคเบาหวานอาการตาพร่าที่ไม่สามารถอธิบายได้อาจเกิดจากการเริ่มมีอาการ โรคจอตาเสื่อมจากเบาหวานโรคที่คุกคามสายตาที่ทำลายจอตา
โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคทางระบบอื่น ๆ: ตามัวซึ่งมักเกิดจากเยื่อตาอักเสบร่วมกับการเห็นภาพซ้อนอาจเป็นอาการของภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดออกในสมอง นอกจากนี้ยังสามารถเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หากคุณมีอาการสายตาพร่าหรือมองเห็นภาพซ้อนอย่างกะทันหันให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาทันที
หากคุณมีสายตาพร่าเล็กน้อยที่เกิดขึ้นและหายไปได้ นั่นอาจหมายถึงความเหนื่อยล้า อาการเมื่อยล้าทางสายตา หรือการได้รับแสงแดดมากเกินไป
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางการมองเห็นที่เกิดอย่างกะทันหันหรือค่อยเป็นค่อยไป อย่างเช่น ตาพร่า การเห็นภาพซ้อน สายตาเห็นได้แคบกว่าปกติ เกิดจุดบอด เห็นรัศมีหรือภาพขมุกขมัว ที่กล่าวมาอาจเป็นสัญญาณของโรคตาที่ร้ายแรงหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
สายตาคุณเบลอหรือไม่ ค้นหาพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาใกล้ ๆ คุณ และค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุของสายตาพร่าของคุณ และวิธีที่ดีที่สุดในการรักษา
หน้าที่ตีพิมพ์ใน วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564